ในปี พ.ศ. 2485 สมัยนั้นรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ ขนาดว่าบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าสามารถใช้เป็นที่แข่งเรือได้ เมื่อถูกเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนักเข้า
ท่านผู้นำจึงมีวลีหล่นจากปากว่า “น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง”จนครูไพบูลย์ บุตรขัน เก็บวลีเด็ดไปปรับเป็น “น้ำท่วม น้องว่าดีกว่าฝนแล้ง”เป็นเนื้อเพลงท่อนขึ้นต้น กลายเป็นเพลงดังตลอดกาลของ ศรคีรี ศรีประจวบ จนทุกวันนี้
ปี พ.ศ. 2526 ประเทศไทยต้องเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่อยู่นานทีเดียว
จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชัน 2 ลูก พัดผ่านเข้ามายังในประเทศไทย คือ เฮอร์เบิร์ตและคิม
ทำให้เกิดฝนตกหนักจนเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่รองรับปริมาณน้ำฝนรับไม่ไหว
เกิดเป็นน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคตะวันออก ราษฎรมากกว่า 5,000 หลังคาเรือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ขณะเดียวกันก็เกิดน้ำทะเลหนุนจากอ่าวไทย น้ำท่วมเข้าพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลขังอยู่นาน
รถยนต์ไม่อาจสัญจรได้ตามปกติ ถนนน้ำท่วมสูง จนต้องมีการน้ำเรือมาวิ่งบรรทุกผู้โดยสาร
ผู้ว่ากทม.ในยุคนั้น คือ พลเรือเอกเทียม มกรานนท์
ทหารน้ำผู้อาวุโสมาจากการแต่งตั้งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า”ปู่เทียม”ไม่สามารถจัดการ”น้ำรอระบาย”ได้เป็นที่พอใจประชาชนนัก
ชาวกรุงก็ต้องปรับตัวตามสภาพจนน้ำลดลง
ที่มา เพจ 50 +
เรียบเรียงโดยสุขเสมอ