ประเทศไทยเป็นชาติแรกในเอเชียที่ให้บริการรถราง ตั้งแต่ พ.ศ.2431 เริ่มต้นโดยชาวต่างชาติ ครั้งแรกโดยใช้ม้าลาก พัฒนาและเปลี่ยนมือเจ้าของสัมปทานมาเป็นการเดินรถด้วยระบบไฟฟ้าเมื่อปี 2435 เป็นยานพาหนะคู่เมืองกรุง ด้วยเจริญรุ่งเรืองขยายเส้นทางถึง 11 สาย จนสิ้นสุดสัมปทาน เมื่อปี 2493
ต่อมารัฐบาลจึงรับกิจการมาดำเนินการต่อ โดย บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯจำกัด สังกัดกรมโยธาเทศบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยให้บริการมาจนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้ทำการหยุดกิจการแบบไม่เคยถามความต้องการของประชาชนเลย เพียงอ้างเหตุผลว่ารถรางกีดขวางทางการจราจร และมีการเดินทางด้วยรถยนต์ หรือยานพาหนะอื่นๆที่สะดวกกว่าเป็นต้นมา
หนุ่มน้อยฝั่งธนฯรอเรือข้ามฝั่งไปพระนคร
พระปรางค์วัดอรุณปิดซ่อม แต่นักท่องเที่ยวก็ยังมาเที่ยวชมอยู่
เด็กๆมาเล่นทางขึ้นวัดภูเขาทอง
พระกำลังเดินขึ้นภูเขาทอง
คลังสินต้าของบริษัทเอกชน
วัดอมรินทรารามวรวิหาร ใกล้สถานีรถไฟธนบุรี แถวศิริราช
เรือบรรทุกขนของขึ้นรถไฟ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี ใกล้วัดอมรินทรารามวรวิหาร
การสัญจรทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานเจริญศรีข้ามคลองคูเมืองเดิม ถนนบุญศิริ ด้านหลังกระทรวงกลาโหม
การจราจรทางเรือใต้สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าคับคั่ง ขณะที่บนสะพานก็มีคนเดินหนาตา
พระปรางค์วัดอรุณอยู่ระหว่างการบูรณะ
ศาลาท่าน้ำวัดนางชี ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี
บริเวณสถานีรถไฟมักกะสัน
ภาพ : George Lane
ที่มาจากเพจ 50+
เรียบเรียงโดย สุขเสมอ