ช่วงเดือนตุลาคม ประเทศไทยทุกปีมักอยู่ในฤดูน้ำหลาก บางพื้นที่ถูกน้ำท่วมขัง ย้อนไปในวันที่ 17-23 ตุลาคม พ.ศ. 2480 (สมัยรัชกาลที่ 8 ) คณะสำรวจของกระทรวงเกษตราธิการ รวมทั้ง ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน (Robert Larimore Pendleton) ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์
นักปฐพีวิทยาและการเกษตร ชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาของกรมเกษตรและการประมง กระทรวงเกษตราธิการ ได้ล่องเรือไปตามแม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา บันทึกภาพบ้านเรือน วัดวาอาราม ผู้คนชาวอ่างทองในแถบอำเภอโพธ์ทอง เขตอำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอไชโย และอำเภอเมืองอ่างทอง
แม่น้ำน้อยเป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำเจ้าพระยามีระยะทาง 145 กิโลเมตร เริ่มที่อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านอำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน และอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
ผ่านอำเภอโพธ์ทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วไปรวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพถ่ายเหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญ ที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาชีวิตของคนไทยในยุคนั้นว่ามีความเป็นอยู่กันอย่างไร
รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ อาคาร สถานที่ต่างๆที่บางอย่างอาจหลงเหลือยู่และบางอย่างอาจสูญสลายไปตามกาลเวลา
บ้านเรือนไทย ริมแม่น้ำน้อย เขต อ.โพธิ์ทอง
เรือโดยสาร แม่น้ำน้อย ช่วง อ.โพธิ์ทอง – อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
เรือกาแฟมาบริการลูกค้าถึงท่าน้ำ ด้านหลังคือวัดวิเศษชัยชาญ
แม่น้ำน้อย หน้าวัดวิเศษชัยชาญ
“เรือหางแมงป่อง” คลองบางแก้ว หน้าวัดบ้านอิฐ อำเภอเมือง อ่างทอง
แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงหน้าวัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย
วัดไชโยวรวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงวัดไชโยวรวิหาร อ.ไชโย
วัดวิเศษชัยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญ
บ้านเรือนเกษตรกรริมแม่น้ำน้อย เขตอำเภอวิเศษชัยชาญ
แม่น้ำน้อย ช่วงวิเศษชัยชาญ – ผักไห่ จ.อยุธยา
เรือรับส่งนักเรียน แม่น้ำน้อย เขตอำเภอวิเศษชัยชาญ
วัดสี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ
ท่าเรือเมล์ แม่น้ำน้อย ตลาดวิเศษชัยชาญ
ภาพ : Robert Larimore Pendleton
ที่มาจากเพจ 50+
เรียบเรียงโดย สุขเสมอ