ก่อนอื่นต้องย้อนมาดูข้อมูลกันก่อนว่า ใบขับขี่ (Driving License) หรือ ใบอนุญาตขับขี่ คือ เอกสารสำคัญสำหรับผู้ใช้รถบนท้องถนน อนุญาตให้เราสามารถขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถประเภทอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต ออกโดย กรมการขนส่งทางบก เป็นผู้ออกให้ ในกรณีถ้าไม่มี ใบอนุญาตขับขี่ แล้วกระทำการขับขี่รถจะถือว่าเป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย มีโทษทางแพ่งรวมถึงจะเสียสิทธิ์จากการได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถด้วย
ส่วนใบขับขี่ตลอดชีพ นั้น เป็นใบอนุญาตที่เคยออกให้กับผู้ขับขี่ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยผู้ใช้รถสามารถทำใบขับขี่ตลอดชีพได้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2546 ซึ่งในเวลานั้นใบขับขี่ ยังคงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.ใบขับขี่ชั่วคราว ผู้ใช้รถจะได้เป็นใบแรกเมื่อสอบผ่านเกณฑ์ของกรมการขนส่งทางบก
2.ใบขับขี่ประเภทบุคคล อายุ 1 ปี ได้มาเมื่อนำใบขับขี่ชั่วคราวมาต่ออายุ และเมื่อผ่านไปอีก 1 ปีจะต้องนำมาต่ออายุอีกครั้งหนึ่ง และสามารถเลือกได้ว่าจะต่ออายุแบบ 1 ปีเหมือนเดิมหรือจะขอใบขับขี่แบบตลอดชีพ
3.ใบขับขี่ตลอดชีพ ได้มาจากการนำใบขับขี่จากข้อ 2 มาต่ออายุโดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากกว่าใบขับขี่ 1 ปีถึง 10 เท่า และใบขับขี่ตลอดชีพนี้จะให้เฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น
สรุปก็คือ นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบก ก็ได้ยกเลิกการออกใบขับขี่ตลอดชีพไปแล้วนั่นเอง
แล้วถ้าทำใบขับขี่ตลอดชีพหายล่ะ ?
หากผู้ที่เคยครอบครองใบขับขี่ตลอดชีพหายเเล้วติดต่อขอทำใหม่ บุคคลนั้นจะยังได้ใบขับขี่ตลอดชีพเหมือนเดิม แต่บัตรจะเปลี่ยนเป็นสมาร์ทการ์ดตามยุคสมัยปัจจุบัน หรือผู้ที่มีใบขับขี่ตลอดชีพแบบสมาร์ทการ์ดเเล้วเกิดสูญหายหรือชำรุด เมื่อทำบัตรใหม่ก็จะได้ใบขับขี่แบบสมาร์ทการ์ดชนิดตลอดชีพเหมือนใบเดิม
ใบขับขี่ตลอดชีพ เปลี่ยน/ ไม่เปลี่ยน ตามความสมัครใจ
อย่างไรก็ดี กรมการขนส่งทางบกยืนยันว่า ไม่มีการยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพหรือตลอดชีวิตรุ่นเก่าที่เป็นกระดาษ โดยประชาชนสามารถเลือกเปลี่ยนให้เป็นใบขับขี่รูปแบบใหม่ได้ตามความสมัครใจ อีกทั้งใบขับขี่รูปแบบใหม่จะสามารถขับรถในอาเซียน 10 ประเทศได้ทันที โดยไม่ต้องทำใบอนุญาตขับรถสากลอีกด้วย
ขั้นตอนขอใบขับขี่ตลอดชีพใหม่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก
กรมการขนส่งทางบก ขอความร่วมมือหยุดแชร์ข่าวปลอม ยืนยัน!!! ใบอนุญาตขับรถตลอดชีพยังใช้ได้ตามปกติ ไม่มีการยึดคืน ไม่มีการเรียกมาอบรมหรือทดสอบใหม่แต่อย่างใด แนะ!!! ก่อนแชร์ข่าว ตรวจสอบข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบกโดยตรง
ข้อมูลจาก dlt
เรียบเรียงโดย สุขเสมอ
รูปภาพ pixabay