ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า “วัยทอง” คืออะไร “วัยทอง” หมายถึง วัยของคนเราเมื่อมีอายุเข้าสู่ช่วง 40-59 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเพศลดน้อยลง จนทำให้ร่างกายเกิดความเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสที่จะมีปัญหาโรครุมเร้า เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
“ผู้หญิงวัยทอง” หรือวัยหมดประจำเดือน หมายถึง สตรีในวัย 40 – 59 ปี ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ซึ่งทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรร่วมด้วยกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามมา
รับมือยังไงกับ “วัยทอง”
การจัดการกับอารมณ์ในภาวะวัยทองที่อาจจะมีการแปรปรวนของอารมณ์ ทำให้เกิดปัญหากับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นอาการหงุดหงิดง่าย ขี้น้อยใจ สิ่งเหล่านี้เราควรที่จะรับมือกับมันให้ได้ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของเราและคนรอบข้างเป็นไปได้โดยปกติ
เผชิญความเปลี่ยนแปลงด้วยความเข้าใจ
ยอมรับในความเสื่อมถอยของร่างกาย อย่าเก็บเอามาคิดให้เป็นกังวล ควรปรับอารมณ์วางแผนการใช้ชีวิตให้ดีและยิ้มรับกับสิ่งที่จะตามมา มองโลกในแง่ดี
ทำกิจกรรมเยียวยา
การที่เรามีปัญหาทางด้านอารมณ์การหากิจกรรมที่มีประโยชน์ทำอาจจะช่วยให้เราไม่ว่างคิดโน่นนี่มากจนเกินไป เช่นงานอดิเรกประดิษฐ์ งานฝีือ นอกจากจะได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังได้ผลงานฝีมือเราเองไว้ชื่นชมอีกด้วย หรือใครถนัดงานด้านอื่นๆก็สามารถทำได้ เช่นเล่นดนตรี ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ งานศิลปะ เป็นต้น
พูดคุยกับคนในครอบครัว และคนใกล้ชิด
อธิบายถึงสิ่งที่เรากำลังเผชิญ เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าใจ และร่วมกันรับมือกับสภาพอารมณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะทำให้คนอื่นเข้าใจเราแล้ว อาจจะยังช่วยให้เราได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างด้วยเช่นกัน
พบปะเพื่อนบ้าง
ควรที่จะหาเวลาว่างไปพูดคุยทำกิจกรรมร่วมกันกับกลุ่มเพื่อนบ้าง จะช่วยให้สภาพจิตใจของคุณดีขึ้น และยังช่วยให้คุณได้ระบายหรือแบ่งเบาอารมณ์ความรู้สึกออกไปกับเพื่อนที่สนิท ไม่หมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเกินไป
เดินทางท่องเที่ยว
วัยนี้แหละเหมาะแล้วที่จะออกเดินทางท่องเที่ยว เวลาหลังจากเกษียณเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้พักผ่อน ออกไปทำอะไรที่เรายังไม่เคยทำ ไปในที่ที่เรายังไม่เคยไป ได้เวลาพักผ่อนจากการทุมเททำงานหนักมาทั้งชีวิต การท่องเที่ยวอาจจะช่วยฟื้นฟูอารมณ์ให้แจ่มใสได้มากยิ่งขึ้น
การดูแลคนในวัยทองนั้นอาจจะไม่ต้องพึงพาการกินยาเสมอไป การปฏิบัติตัวในแต่ละวันก็ช่วยให้การเข้าสู้สภาวะวัยทองของเราดียิ่งขึ้นได้เหมือนกัน
เพียงคุณมองโลกในแง่ดี ยอมรับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ พูดคุยทำควาวมเข้าใจกับคนรอบข้าง เท่านั้นคุณก็ขะก้าวเข้าสู่วัยทองได้อย่างไม่มีปัญหาแล้วครับ
ข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลเปาโล
ภาพประกอบ pixabay
เรียบเรียง สุขเสมอ