แล้วก็มาถึงวันที่สถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดต้องปิดตำนานลง 105ปี กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ที่อยู่คู่กับคนกรุงมาช้านาน สถานีรถไฟกรุงเทพหรือสถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย
และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453
สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
“สถานีรถไฟหัวลำโพง” ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “สถานีรถไฟกรุงเทพฯ” จนปัจจุบันกันว่า “สถานีรถไฟหัวลำโพง”
โดยคำว่า “หัวลำโพง” สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามคลองและทุ่งที่มีฝูงวัวที่วิ่งกันคึกคัก ที่เรียกว่า “ทุ่งวัวลำพอง”
ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระรามที่ 4
โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานคร
สถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์
คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่างๆ เป็นหลัก
โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
สถานีกรุงเทพมีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่สถานีกรุงเทพหลายหมื่นคน(ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561)
และโดยเฉพาะช่วงวันสำคัญและวันหยุดเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ ของไทย เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก
โดยสถานีแห่งนี้จะถูกย้ายไป ‘สถานีกลางบางซื่อ’ 23 ธันวาคม2564นี้ ทำเอาหลายคนอดเศร้าไม่ได้ที่จะต้องเปลี่ยนสถานที่สำคัญแห่งนี้
ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรียบเรียงโดยสุขเสมอ